วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ครม.ไฟเขียวร่าง พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก คาดประกาศใช้ต้นปี 60 หวังยกระดับอุตสาหกรรมสู่ยุค 4.0 คาดเกิดการลงทุน 1.5 ล้านล้านบาทใน 10 ปี

ครม.ไฟเขียวร่าง พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก คาดประกาศใช้ต้นปี 60 หวังยกระดับอุตสาหกรรมสู่ยุค 4.0 คาดเกิดการลงทุน 1.5 ล้านล้านบาทใน 10 ปี

การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประชุมมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ... ครอบคลุมการพัฒนาพื้นที่ใน3จังหวัดได้แก่ จ.ชลบุรี จ.ระยองและ จ.ฉะเชิงเทรา ตามนโยบายยกระดับภาคอุตสาหกรรมของไทย คาดว่ากฎหมายจะมีผลบังคับใช้ต้นปี 2560

พื้นที่ดังกล่าวจะมีเนื้อที่ราว 70,000 ไร่ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ซึ่งเป็นการยกระดับภาคการผลิตของไทยไปสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง ตามนโยบาย“อุตสาหกรรม4.0”

รัฐบาลประเมินว่าหากสามารถสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษสำเร็จ จะก่อให้เกิดการลงทุนในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 1.5 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนในด้านอุตสาหกรรมเป้าหมาย 5 แสนล้านบาทภายในระยะเวลา 10 ปี

นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น รถไฟความเร็วสูง การพัฒนาท่าเรือ และสนามบินอู่ตะเภาวงเงิน4แสนล้านบาท การลงทุนในด้านเมืองใหม่ โรงพยาบาล โรงเรียน ที่อยู่อาศัย วงเงิน4แสนล้านบาท และการลงทุนในด้านการท่องเที่ยวคุณภาพ และเชิงสุขภาพวงเงิน2แสนล้านบาท โดยแผนการลงทุนโดยละเอียดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะนำเสนอต่อที่ประชุม ครม.ต่อไป

สำหรับการจัดเตรียมพื้นที่รองรับการลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก มีการคาดการณ์ว่าจะมีการใช้พื้นที่สำหรับการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายประมาณ70,000ไร่ เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี18,000ไร่ อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต18,000ไร่ อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรและอาหาร20,000ไร่ อุตสาหกรรมโลจิสติกส์2,000ไร่ และอุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ครบวงจร30,000ไร่ เป็นต้น

ทั้งนี้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นว่าจะให้คณะกรรมการกฤษฎีกาดูแลขั้นตอนการออกกฎหมายเป็นพิเศษ เพื่อเร่งรัดให้ผ่านการพิจารณาโดยเร็ว ก่อนจะส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาคาดว่ากฎหมายจะผลบังคับใช้ในช่วงต้นปี2560

ตั้งบอร์ดดูแลนายกฯเป็นประธาน

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าร่าง พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกประกอบไปด้วย5หมวด60มาตรา โดยมีสาระสำคัญ คือกำหนดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีคณะกรรมการ24คน โดยมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย อนุมัติแผนงานทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว รวมทั้งกำหนดมาตรการที่จำเป็นในการดูแลพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก

ส่วนการกำกับดูแลในพื้นที่ให้มีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยเป็นหน่วยงานที่เป็นหน่วยงานของรัฐแต่ไม่ใช่หน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ มีเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นผู้กำกับดูแล และมีอำนาจในการอนุมัติกิจกรรมตามกฎหมายในพื้นที่ครอบคลุมกฎหมาย6ฉบับได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร กฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนเครื่องจักร กฎหมายว่าด้วยสาธารณสุข กฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์ และกฎหมายว่าด้วยโรงงาน

ให้สิทธิเช่าที่ดินรวม99ปี

สำหรับสิทธิประโยชน์ที่ให้กับนักลงทุนประกอบไปด้วย การให้สิทธิ์ในการเช่าที่ดินเพื่อทำธุรกิจเป็นระยะเวลา50ปีและต่อระยะเวลาการเช่าได้อีก49ปี สามารถนำแรงงานต่างด้าวที่มีฝีมือ หรือเป็นผู้บริหารเข้ามาทำงานในพื้นที่ได้ รวมทั้งมีการอำนวยความสะดวกให้สามารถนำครอบครัวเข้ามาอยู่อาศัยได้ รวมทั้งมีการกำหนดให้มีการลดหย่อนภาษีอากรแก่แรงงานฝีมือ

นอกจากนั้นมีการให้สิทธิ์ในการใช้เงินตราต่างประเทศในพื้นที่ที่มีการลงทุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ รวมทั้งมีการจัดตั้งเคาท์เตอร์ให้บริการทางการเงินเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนต่างชาติในพื้นที่ มีการตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)อำนวยความสะดวกในการพิจารณาให้การอนุญาต การขออนุญาตการทำงาน การทดทะเบียนพาณิชย์ การขออนุญาตแรงงาน โดยสามารถดำเนินการในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น

บีโอไอแก้กฎหมายให้สิทธิพิเศษภาษี15ปี

สำหรับการได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีนิติบุคคลให้เป็นไปตามประกาศของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ที่ได้มีการทบทวนกฎหมายใหม่โดยให้สิทธิ์ในการรับการยกเว้นภาษีนิติบุคคลสูงสุดเป็นระยะเวลา15ปี

ที่ประชุม ครม.ยังเห็นชอบในหลักการให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยเก็บเงินจากผู้ประกอบการที่เข้ามาลงทุนบางส่วนเพื่อจัดตั้งเป็นกองทุนในการพัฒนาท้องถิ่น และเยียวยาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกิดจาการลงทุนในพื้นที่ ซึ่งจะเป็นการช่วยส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยจะมีการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการส่งเงินเข้ากองทุนอีกครั้งหลังจากที่กฎหมายมีการประกาศใช้แล้ว

“ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้จะสนับสนุนการผลักดันประเทศไทยเข้าสู่การพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 เพื่อเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมของอาเซียน หลังจากที่เราเคยประสบความสำเร็จในการผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกตลอด25ปีที่ผ่านมา โดยกฎหมายนี้ถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและส่งเสริมการลงทุนทั้งสำหรับรัฐบาลนี้และเป็นแนวทางสำหรับรัฐบาลต่อไป รวมทั้งสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนว่ารัฐบาลจะมีการผลักดันการพัฒนาและการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกอย่างจริงจัง” นายกอบศักดิ์กล่าว
ขอขอบคุณที่มา http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/721330

สำหรับพื้นที่เวบไซต์ดี ๆ ต้องให้เครดิต บจก. ไทย พรอสเพอรัส ไอที ผู้นำด้านการให้บริการระบบจีพีเอสติดตามรถยนต์ สินค้าเกรดเอ นำเข้าจากยุโรป มั่นใจกว่า เสถียรกว่า ทนทานกว่า รับประกันความพึงพอใจ สามารถคืนเงินได้ภายใน 7 วัน

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยแพร่ดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก ไทยติดอันดับ 34 ของโลก

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยแพร่ดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก ไทยติดอันดับ 34 ของโลก

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการของ WEF (World Economic Forum) ได้จัดเผยแพร่รายงานดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก (Global Competitiveness Index: GCI) ประจำปี 2016 ซึ่งเปรียบเทียบความสามารถการแข่งขันของ 138 ประเทศทั่วโลก ในปีนี้ประเทศที่ได้อันดับหนึ่งถึงสิบ คือ สวิตเซอร์แลนด์ ตามมาด้วย สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี สวีเดน สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น ฮ่องกง และฟินแลนด์ ตามลำดับ โดยประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 34 ของโลก โดยมีคะแนน 4.6 จากคะแนนเต็ม 7 คะแนน ส่วนอันดับของประเทศไทยเมื่อเทียบเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 10 ถ้าเทียบเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียน+3 นั้น ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 6

รองศาสตราจารย์ ดร.พสุ เดชะรินทร์ คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการของ WEF (World Economic Forum) ในประเทศไทย เผยว่า “ทางคณะฯ เป็นผู้ทำการเก็บข้อมูลเชิงลึก จากแบบสอบถามกับผู้บริหารระดับสูง ขององค์กรขนาดใหญ่และขนาดย่อม ในทุกภาคส่วนอุตสาหกรรม ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดย WEF ซึ่งนำไปคำนวณดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก โดยมีตัวชี้วัด 114 ตัว จัดแบ่งเป็น 3 กลุ่ม 12 ด้าน ที่สะท้อนภาพความสามารถในการแข่งขันโดยรวมของประเทศ”

จากการจัดอันดับในครั้งนี้ ประเทศไทยโดดเด่นในด้านสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomic Environment) ที่ได้รับคะแนนเพิ่มขึ้นจาก 5.7 เป็น 6.1 และได้รับอันดับดีขึ้นจาก 27 เป็น 13 นับเป็นการปรับตัวดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในขณะเดียวกัน WEF ก็ได้มีข้อเสนอแนะที่น่าสนใจสำหรับประเทศไทย คือ ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศระดับรายได้ปานกลาง และมีอุตสาหกรรมเกิดใหม่ การที่จะทำให้ประเทศเติบโตขึ้นมาได้นั้นจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของนวัตกรรม (Innovation) เป็นพิเศษ นอกจากนี้เพื่อเตรียมรองรับต่อการพัฒนาสู่อุตสาหกรรมยุค 4.0 (Fourth Industrial Revolution) ประเทศจะต้องให้ความสำคัญกับทักษะของบุคลากรที่จำเป็นสำหรับอนาคตการพัฒนาของภาคธุรกิจ

ส่วนเกณฑ์การให้คะแนนของ WEFนั้น  จะแบ่งประเทศตาม GDP per Capita ของแต่ละประเทศ จัดแบ่งกลุ่มประเทศเป็น 3 กลุ่ม โดยมีตัวชี้วัด 114 ตัว แบ่งเป็น 12 ด้าน โดยจะมีน้ำหนักของตัวแปรในแต่ละด้านสำหรับแต่ละกลุ่มประเทศนั้นจะไม่เท่ากัน โดยประเทศในกลุ่มที่หนึ่ง คือ ประเทศที่อยู่ในกลุ่มปัจจัยพื้นฐาน (Factor-Driven Economies) ที่ใช้ปัจจัยพื้นฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเกณฑ์ของคะแนนจะเป็น ปัจจัยด้านพื้นฐาน 60% ปัจจัยด้านประสิทธิภาพ 35% ปัจจัยด้านนวัตกรรม 5% ส่วนประเทศกลุ่มที่สอง คือ ประเทศที่อยู่ในกลุ่มปัจจัยด้านประสิทธิภาพ (Efficiency - Driven Economies) โดยเกณฑ์ของคะแนนคือ ปัจจัยด้านพื้นฐาน 40% ปัจจัยด้านประสิทธิภาพ 50% ปัจจัยด้านนวัตกรรม 10% และประเทศกลุ่มที่สามคือ ประเทศที่อยู่ในกลุ่มปัจจัยด้านนวัตกรรม (Innovation - Driven Economies) โดยเกณฑ์ของคะแนนคือ ปัจจัยด้านพื้นฐาน 20% ปัจจัยด้านประสิทธิภาพ 50% ปัจจัยด้านนวัตกรรม 30% โดยประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มที่สอง ซึ่งมีทั้งหมด 30 ประเทศ เช่น จีน อินโดนีเซีย เป็นต้น

ทั้งนี้การสำรวจความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ โดย WEF (World Economic Forum) หรือ ดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก (Global Competitiveness Index : GCI) ซึ่งเป็นมาตรวัดที่สำคัญที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกเฝ้ารอและจับตาดู เนื่องด้วย นอกจากจะเป็นการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ แล้วยังสามารถชี้ให้เห็นถึงจุดเด่นและประเด็นที่ควรต้องพิจารณา เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต ซึ่งในประเทศไทย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นพันธมิตรที่ร่วมพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว

ที่มา http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1475130786

แน่นอนที่สุดหากประเทศไทยของเรายังไม่พบตัวตนที่แท้จริง ใช้แรงงานจากการรับจ้างผลิตโดยไม่มีนวัตกรรมเป็นของตัวเอง วิกฤตการนี้ย่อมเป็นปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในอนาคต สิ่งสำคัญที่สุดก็คือภาครัฐต้องสนับสนุนทั้งงานวิจัยสำหรับใช้งานได้จริง ตลอดจนออกกฎเกณฑ์เพื่อช่วยให้กลุ่มผู้ประกอบไทย เช่น บริษัทผู้ประกอบการ จีพีเอสแทร็กเกอร์โปร เป็นต้น ให้สามารถสร้างนวัตกรรมและแข่งขันกันได้อย่างเป็นธรรม