วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยแพร่ดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก ไทยติดอันดับ 34 ของโลก

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยแพร่ดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก ไทยติดอันดับ 34 ของโลก

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการของ WEF (World Economic Forum) ได้จัดเผยแพร่รายงานดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก (Global Competitiveness Index: GCI) ประจำปี 2016 ซึ่งเปรียบเทียบความสามารถการแข่งขันของ 138 ประเทศทั่วโลก ในปีนี้ประเทศที่ได้อันดับหนึ่งถึงสิบ คือ สวิตเซอร์แลนด์ ตามมาด้วย สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี สวีเดน สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น ฮ่องกง และฟินแลนด์ ตามลำดับ โดยประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 34 ของโลก โดยมีคะแนน 4.6 จากคะแนนเต็ม 7 คะแนน ส่วนอันดับของประเทศไทยเมื่อเทียบเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 10 ถ้าเทียบเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียน+3 นั้น ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 6

รองศาสตราจารย์ ดร.พสุ เดชะรินทร์ คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการของ WEF (World Economic Forum) ในประเทศไทย เผยว่า “ทางคณะฯ เป็นผู้ทำการเก็บข้อมูลเชิงลึก จากแบบสอบถามกับผู้บริหารระดับสูง ขององค์กรขนาดใหญ่และขนาดย่อม ในทุกภาคส่วนอุตสาหกรรม ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดย WEF ซึ่งนำไปคำนวณดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก โดยมีตัวชี้วัด 114 ตัว จัดแบ่งเป็น 3 กลุ่ม 12 ด้าน ที่สะท้อนภาพความสามารถในการแข่งขันโดยรวมของประเทศ”

จากการจัดอันดับในครั้งนี้ ประเทศไทยโดดเด่นในด้านสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomic Environment) ที่ได้รับคะแนนเพิ่มขึ้นจาก 5.7 เป็น 6.1 และได้รับอันดับดีขึ้นจาก 27 เป็น 13 นับเป็นการปรับตัวดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในขณะเดียวกัน WEF ก็ได้มีข้อเสนอแนะที่น่าสนใจสำหรับประเทศไทย คือ ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศระดับรายได้ปานกลาง และมีอุตสาหกรรมเกิดใหม่ การที่จะทำให้ประเทศเติบโตขึ้นมาได้นั้นจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของนวัตกรรม (Innovation) เป็นพิเศษ นอกจากนี้เพื่อเตรียมรองรับต่อการพัฒนาสู่อุตสาหกรรมยุค 4.0 (Fourth Industrial Revolution) ประเทศจะต้องให้ความสำคัญกับทักษะของบุคลากรที่จำเป็นสำหรับอนาคตการพัฒนาของภาคธุรกิจ

ส่วนเกณฑ์การให้คะแนนของ WEFนั้น  จะแบ่งประเทศตาม GDP per Capita ของแต่ละประเทศ จัดแบ่งกลุ่มประเทศเป็น 3 กลุ่ม โดยมีตัวชี้วัด 114 ตัว แบ่งเป็น 12 ด้าน โดยจะมีน้ำหนักของตัวแปรในแต่ละด้านสำหรับแต่ละกลุ่มประเทศนั้นจะไม่เท่ากัน โดยประเทศในกลุ่มที่หนึ่ง คือ ประเทศที่อยู่ในกลุ่มปัจจัยพื้นฐาน (Factor-Driven Economies) ที่ใช้ปัจจัยพื้นฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเกณฑ์ของคะแนนจะเป็น ปัจจัยด้านพื้นฐาน 60% ปัจจัยด้านประสิทธิภาพ 35% ปัจจัยด้านนวัตกรรม 5% ส่วนประเทศกลุ่มที่สอง คือ ประเทศที่อยู่ในกลุ่มปัจจัยด้านประสิทธิภาพ (Efficiency - Driven Economies) โดยเกณฑ์ของคะแนนคือ ปัจจัยด้านพื้นฐาน 40% ปัจจัยด้านประสิทธิภาพ 50% ปัจจัยด้านนวัตกรรม 10% และประเทศกลุ่มที่สามคือ ประเทศที่อยู่ในกลุ่มปัจจัยด้านนวัตกรรม (Innovation - Driven Economies) โดยเกณฑ์ของคะแนนคือ ปัจจัยด้านพื้นฐาน 20% ปัจจัยด้านประสิทธิภาพ 50% ปัจจัยด้านนวัตกรรม 30% โดยประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มที่สอง ซึ่งมีทั้งหมด 30 ประเทศ เช่น จีน อินโดนีเซีย เป็นต้น

ทั้งนี้การสำรวจความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ โดย WEF (World Economic Forum) หรือ ดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก (Global Competitiveness Index : GCI) ซึ่งเป็นมาตรวัดที่สำคัญที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกเฝ้ารอและจับตาดู เนื่องด้วย นอกจากจะเป็นการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ แล้วยังสามารถชี้ให้เห็นถึงจุดเด่นและประเด็นที่ควรต้องพิจารณา เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต ซึ่งในประเทศไทย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นพันธมิตรที่ร่วมพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว

ที่มา http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1475130786

แน่นอนที่สุดหากประเทศไทยของเรายังไม่พบตัวตนที่แท้จริง ใช้แรงงานจากการรับจ้างผลิตโดยไม่มีนวัตกรรมเป็นของตัวเอง วิกฤตการนี้ย่อมเป็นปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในอนาคต สิ่งสำคัญที่สุดก็คือภาครัฐต้องสนับสนุนทั้งงานวิจัยสำหรับใช้งานได้จริง ตลอดจนออกกฎเกณฑ์เพื่อช่วยให้กลุ่มผู้ประกอบไทย เช่น บริษัทผู้ประกอบการ จีพีเอสแทร็กเกอร์โปร เป็นต้น ให้สามารถสร้างนวัตกรรมและแข่งขันกันได้อย่างเป็นธรรม